หน้าที่และอำนาจ

             ภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด คือปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกําหนด การปฏิบัติราชการตามอํานาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย ซึ่งหมายถึงการเป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่จังหวัดที่สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ทุกกระทรวงต้องดำเนินการ อีกทั้งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ที่เน้นการกระจายการบริหารราชการไปยังในส่วนภูมิภาค (ภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด) ซึ่งทุกกระทรวงในประเทศไทยต้องออกแบบโครงสร้างให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันนี้

หน้าที่และอำนาจของศึกษาธิการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่กำหนดไว้ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐

๑. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๑๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้ศึกษาธิการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยสรุป ดังนี้

   ๑.๑) เป็นกรรมการและเลขานุการของ กศจ. (ข้อ ๗)

   ๑.๒) เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ อกศจ. (ข้อ ๙)

   ๑.๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ข้อ๑๒)

   ๑.๔) รับผิดชอบการดำเนินงานของ สนง.ศึกษาธิการจังหวัด (ข้อ ๑๒)

   ๑.๕) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (ข้อ ๑๒)           

   ๑.๖) เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
โดยความเห็นชอบของ กศจ. (ข้อ ๑๓)

   ๑.๗) เป็นผู้ปฏิบัติราชการตามที่เลขาธิการ กพฐ. เลขาธิการ กอศ.เลขาธิการ กกอ. เลขาธิการ ก.ค.ศ. เลขาธิการ กศน. และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนการมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน กำกับดูแล และบูรณาการการศึกษา  ของกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร (ข้อ ๑๔) (ถ้าหากมี)

   ๑.๘) เป็นผู้ปฏิบัติราชการตามที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการตามกฎหมาย ว่าด้วย  โรงเรียนเอกชนให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการแทน (ข้อ ๑๔) (ถ้าหากมี)

. ตามข้อ ๑๒ ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๙/๒๕๖๐ มีผลให้ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ดังนี้                                

   ๒.๑) มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู ฯ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เช่น

        ๒.๑.๑) มีอำนาจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ตามมาตรา ๗๓)     

        ๒.๑.๒) เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา ๘๑)

        ๒.๑.๓) เป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ไม่ร้ายแรง แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ตามมาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง)

    ๒.๒) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด แต่มิใช่เป็นผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด        

    ๒.๓) มีอำนาจหน้าที่ ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เช่น ๒.๓.๑) เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) (มาตรา ๒๔(๒))

         ๒.๓.๒) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ   ก.ค.ศ. ต่อไป (มาตรา ๒๔(๒))

    ๒.๔) มีอำนาจสั่งการตามมติ กศจ. แก่ข้าราชการครูและบุคลากร      ทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เช่น

           - ออกคำสั่งย้ายข้าราชกาครูและบุคลากรทางการศึกษา (ตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง)

           - ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน (ตามมาตรา ๗๓ วรรคห้า)

           - ออกคำสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออกจากราชการ (ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม)

 . ตามข้อ ๑๓ ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๙/๒๕๖๐ กำหนดให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) โดยความเห็นชอบของ กศจ. มีผลให้ศึกษามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

    ๓.๑) มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (๓) สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ให้ดำรง                           

 - ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

           - ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา                                                    

           - ตำแหน่งผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๓๘ ข.(๕)

           - ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

           - ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา ๓๘ ค.(๒)                 

ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

           - ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการ                                     

           - ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ                                              

           - ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

    ๓.๒) มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (๔) สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งในสถานศึกษา

           - ตำแหน่งครูผู้ช่วย

           - ตำแหน่งครู

           - ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา ๓๘ ค.(๒)

    ๓.๓) พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓

 

คำสั่งการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา